วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กระบวนการมีส่วนร่วม



กระบวนการมีส่วนร่วม  หมายถึง การมีส่วนร่วมที่เป็นอิสระโดยความสมัครใจ ในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือการปฏิบัติ  ร่วมประเมินผล และร่วมกับประโยชน์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา  มิได้หมายถึงการให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรรมการพัฒนาของรัฐตามที่รัฐกำหนด แต่ หมายถึง การให้ประชาชน กลุ่ม ชุมชน ร่วมกันคิดและตัดสินใจกำหนดทิศทางการพัฒนาการดำรงชีวิต  ร่วมปฏิบัติตามแผนของกลุ่มหรือของชุมชนและรับประโยชน์ร่วมกันโดยรัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุน










                        การร่วมคิดและตัดสินใจภายในกลุ่มเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมจริง ๆ และเป็นอิสระในการแสดงออก  เพราะสมาชิกในกลุ่มมีศักยภาพ ฐานะอำนาจทางสังคมแตกต่างกัน  ปัจจัยวัฒนธรรมบางประการเป็นอุปสรรคต่อความเป็นอิสระในการแสดงออก คนแต่ละคนต่างมีมุมมองในการตัดสินคุณค่าเรื่องต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ต่างกัน เหล่านี้อาจนำไปสู่การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                        การมีส่วนร่วม เป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องทางความคิด จิตใจ อารมณ์ และทางกาย การมีส่วนร่วมมีความหมายมากกว่าการเป็นส่วนหนึ่ง  การมีส่วนร่วมมีความหมายทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ การมีส่วนร่วมครอบคลุมทั้งมิติด้านความสามารถ เวลา และโอกาสที่จะมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมเป็นการกระทำ จึงมีทั้งผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำหรือผู้รับ และสาธารณชน
ผู้เป็นบริบทของการกระทำ
                        การมีส่วนร่วมเป็นปรากฏการณ์ที่มีความหมายหลากหลาย เป็นความพยายามร่วมกันในสหกรณ์เพื่อแก้ปัญหาและบรรลุความต้องการของตนเอง สหกรณ์  โดยเริ่มจากการ รับรู้ร่วมกัน  คิดร่วมกัน และ กระทำร่วมกันในโครงการอย่างต่อเนื่อง


หลักการมีส่วนร่วม







 ปฏิสัมพันธ์กัน
ผู้มีส่วนร่วม

รับรู้ร่วมกัน

สมาชิกสหกรณ์

คิดร่วมกัน

ฝ่ายจัดการสหกรณ์

กระทำร่วมกัน

คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์



จากภาพที่ 2   แสดงแนวคิดหลักการการมีส่วนร่วมแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วม
ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสหกรณ์ ซึ่งในการทำกิจกรรมมีการใช้หลักการมีส่วนร่วมระหว่าง สมาชิกสหกรณ์ ฝ่ายจัดการสหกรณ์ และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์  โดยทุกฝ่ายต้องรับรู้ร่วมกัน คิดร่วมกันและ กระทำร่วมกัน  หากทั้งสามฝ่ายใช้หลักการมีส่วนร่วมดังกล่าวจะทำให้การบริหารงานของสหกรณ์ไม่มีข้อบกพร่องในการดำเนินงาน 




      
 
         



ภาพที่   3    แสดงการมีส่วนร่วมในการบริหารงานสหกรณ์

จากภาพที่ 3 แสดงการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของสหกรณ์ เป็นการกระจาย
โอกาสให้สมาชิกสหกรณ์ ฝ่ายจัดการสหกรณ์และคณะกรมการดำเนินการสหกรณ์มีส่วนร่วมทางการบริหารเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรของสหกรณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิก และสหกรณ์
         2.1.3  การบริหารแบบมีส่วนร่วม (เว็บไซด์ www.portal.in.th/inno-pat/pages/781)
                   การบริหาร  คือ กระบวนการวางแผน การจัดองค์การ  การสั่งการและการควบคุมการปฏิบัติการในองค์การ   และการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ  ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร หรืออีกความหมายหนึ่ง คือ กระบวนการทำงานเพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่เป็นผลสำเร็จด้วยการใช้บุคคล   และทรัพยากรต่าง ๆ  อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุซึ่งเป้าหมายของความต้องการ
                     การมีส่วนร่วม  คือ   ทรัพยากรในการบริหารที่เป็นส่วนของบุคคลในแต่ละระดับการปฏิบัติมีส่วนในกระบวนการวางแผน  การจัดองค์กร การสั่งการ และควบคุมการปฏิบัติในแต่ละส่วนอย่างเต็มความสามารถ   ทั้งในทิศทางเพื่อการปฏิบัติด้านเดียว  หรือการนำเสนอซึ่งความคิดในการดำเนินการตามกระบวนการนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
                     การบริหารแบบมีส่วนร่วม  จึงหมายถึง  การที่บุคคลในองค์กรหรือต่างองค์กรได้ร่วมกันเพื่อจัดการงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและสำเร็จ ทั้งนี้  การมีส่วนร่วมนั้น ๆ จะอยู่ในขั้นตอนใด ๆ ก็ตาม   โดยขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ข้อจำกัดขององค์กรในแต่ละกระบวนการของการดำเนินการบริหารเป็นเกณฑ์
หลักการในการบริหารแบบมีส่วนร่วม
                                    1.  มีการจัดสรรหน้าที่และอำนาจ ในการปฏิบัติงานให้กับผู้ปฏิบัติงาน
คนในองค์กร หรือทีมงาน เพื่อต้องการให้มีทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ
                                    2.  การก่อให้เกิดสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างคนและองค์กรได้อย่างแท้จริง และผลักดันให้คนในองค์กรได้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจขององค์กร
                                    3.  รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นและลดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในการทำงาน
                                    4.  ทำให้ทุกคนในองค์กรต้องรวมตัวกันเป็นทีมงาน (Teamwork) เพื่อผนึกกำลังและศักยภาพ ในการแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งการทำงานลักษณะดังกล่าวนั้นจะเป็นไปตามหลักการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
                     บุคคลในการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารงานหรือการจัดการงานสามารถที่จะแยกได้กว้าง ๆ คือ
                                    1.  ภายในองค์กรจะประกอบด้วย   ผู้บังคับบัญชา  (ผู้บริหารระดับสูง)  ผู้บริหารระดับกลาง  (กลุ่มงานต่าง ๆ)  และผู้ปฏิบัติ  (คนงาน ผู้ทำงานระดับล่าง)   สายสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กรจะเป็นไปตามลักษณะบังคับบัญชาตามลำดับ โดยทั่วไปขององค์กรแล้วจะมีข้อกำหนดไว้เป็นแนวทางอย่างชัดเจน   ซึ่งทุกระดับต้องปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการเสมอ  การมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการในองค์กรจึงเป็นในทิศทางเพื่อการปรับปรุง  พัฒนา หรือแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการดำเนินการในแต่ละองค์ประกอบความจำเป็นของการมีส่วนร่วมอาจไม่ทั้งหมดของบุคคลในทุกระดับอาจเฉพาะเพียงแต่ในระดับเดียวกันเท่านั้น หรือเหนือขึ้นไปในระดับหนึ่งก็เป็นไปได้ลักษณะการมีส่วนร่วมของการจัดการหรือบริหารภายในองค์กรมีรูปแบบต่าง ๆ  ตามสถานการณ์ที่เหมาะสมรูปแบบเบื้องต้นก็คือการเสนอเช่นข้อคิดเห็นเป็นเอกสารผ่านกระบวนการสอบถามหรือโดยส่งเอกสาร
                                   2.  ต่างองค์กรจะประกอบด้วยในหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จัดกระทำในระดับผู้บริหารระดับสูง  การมีส่วนร่วมจะเป็นในรูปของการให้ความเห็น ข้อคิดแลกเปลี่ยนหรือสนับสนุนเพื่อการจัดการ หรือระดับผู้ปฎิบัติก็เป็นในทิศทางของการจัดการร่วมกันในกิจกรรมอย่างเดียวกัน ทั้งนี้โดยผลประโยชน์ขององค์กรทั้งสองต้องไม่ขัดแย้งหรือมีการสูญเสียผลประโยชน์ต่อ
กันในรูปใด ๆ
                          ในการมีส่วนร่วมของบุคคลในระบบราชการ   จะเห็นได้ว่ามีในหลายลักษณะเช่นเดียวกับรูปขององค์กรในปัจจุบัน  
ความสำคัญของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม   เป็นเหตุผลที่จำเป็นต่อการ
บริหารหรือการจัดการองค์กร  คือ
                                    1.  ก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในการปฏิบัติงานที่มุ่งหวัง
                                    2.  กระบวนการตัดสินใจสามารถรองรับพฤติกรรมของบุคคลในองค์กรได้กว้างขวางและเกิดการยอมรับได้
                                    3.  เป็นหลักการของการบริหารที่เป็นผลต่อการดำเนินการเชิงวิเคราะห์ด้วยเหตุผลวิวัฒนาการเพื่อความคิด (การเปิดกว้าง) การระดมความคิด (ระดมสมอง) ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจได้
                                    4. ลดช่องว่างของระบบการสื่อสารในองค์กรและขจัดปัญหาความขัดแย้งได้
3.  การบริหารงานภาครัฐที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน  (Result Based Management) คือการบริหารงานภาครัฐในปัจจุบันจะต้องสามารถวัดและตรวจสอบได้ว่างานที่ทำอยู่ในปัจจุบันนั้นสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องอาศัยการทำงานแบบมีส่วนร่วมเป็นหลัก
ขั้นของความสำเร็จที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมและบุคคลยอมรับอาจได้แก่
                                    1.  การเรียนรู้ในกิจกรรมของตนหรือหน้าที่ของตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นผลต่อความรู้สึกในการอยากรู้ อยากเข้าใจ และอยากเข้าไปมีส่วนร่วม  
                                   2.  สไตล์การทำงานของแต่ละบุคคล เป็นโอกาสของการเลือกเพื่อให้ตนเองก้าวต่อไปหรือได้รับการสนับสนุน
                                    3.  ความมีอารมณ์ที่มั่นคง
                                    4.  การยอมรับจุดอ่อนของตนเอง หรือความบกพร่องต่าง ๆ ของตนเอง
                                    5.  รู้ตนเอง  จุดแข็งที่มีอยู่หรือศักยภาพของตนเอง
                                    6.  มีความคิดเห็นในเชิงทะเยอทะยาน โดยเป้าหมายเป็นจุดน่าทดลองเสี่ยงเพื่อความสำเร็จในงานของตนเอง
                                   7.  สร้างข่ายงานได้   โดยมีการพึ่งพาต่อกัน  ทั้งเพื่อน ,ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
                                    8.  เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มว่ามีขั้นตอนอย่างไร
                                   9.  เรียนรู้ที่จะเงียบ   และ
                                   10.  ถือสัตย์   เป็นแบบแผนการทำงาน
คุณสมบัติของบุคคลเพื่อการมีส่วนร่วม
1. หาแนวคิดและวิธีการในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นเสมอตลอดเวลา
2. แสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงสิ่งต่างๆ ขึ้นมาเอง
3. รู้จักใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
4. วางแผนไว้ล่วงหน้าโดยมีระยะเวลา
5. มีทัศนคติที่ดีต่องานที่ทำ
6. เป็นสมาชิกที่ดีและเป็นผู้นำที่ดีด้วย
7. สร้างแรงกระตุ้นต่อตนเองและรู้ว่าอะไรคือแรงจูงใจ
8. รู้งานทุกส่วนและหน้าที่อย่างดี
9. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
10. สำนึกถึงการสูญเปล่าและรู้ต้นทุน
11. แสวงหาแรงจูงใจที่ไม่มีเงินเกี่ยวข้อง
12. ปรับและรับฟังความคิดเห็นได้ในทุกระดับ
13. สนใจงานที่ทำแทนการพยายามหางานทำที่สนใจ
14. มีความสม่ำเสมอ
15. เชื่อว่าการทำงานเป็นผลให้ฉลาดและไม่เป็นเรื่องหนักงาน
16. ไม่บ่น
17. ทำงานได้ดีกว่ามาตรฐาน
18. นิสัยในการทำงานที่ดี
19. เรียนรู้สิ่งต่างๆได้เร็วและทันสมัย
20. มีประวัติดีและก่อผลงานสม่ำเสมอ
                   ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคคลในองค์กร  สิ่งที่มีผลต่อการก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมที่สำคัญที่สุด  คือ  แรงจูงใจ  และภาวะของบุคคล  (ผู้นำ)  
                         แรงจูงใจ  คือ สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้น  เพื่อก่อให้เกดการกระทำของพลังในบุคคลส่งผลต่อการแสดงซึ่งพฤติกรรมและวิธีการในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายหลักที่ต้องการ  เพราะแรงจูงใจมีผลต่อกระบวนการทำงานของคนในทิศทางแห่งประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย
                        ลักษณะของแรงจูงใจจะแสดงออกได้โดยลักษณะพฤติกรรมซึ่งมีหลายทิศทางขึ้นอยู่กับบุคคล  และ  ขึ้นกับธรรมชาติแห่งความต้องการของบุคคลด้วย   ทั้งนี้  มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาโดยเป็นไปตามความปรารถนา  ความคาดหวัง   และจุดมุ่งหมายต่าง ๆ  ของตนเอง
                        ความสำคัญของแรงจูงใจต่อกระบวนการมีส่วนร่วม  มีคำกล่าวว่า  “ผู้บริหารที่ดีคือ   ผู้ที่สามารถทำงานให้สำเร็จได้โดยผู้ร่วมงาน”   หมายถึง   การที่องค์กรหรือผู้บริหารขององค์กรต้องให้ความสำคัญ   และนำมาใช้ในกิจการต่าง ๆ  ของงาน  เพื่อส่งผลให้
                                    1.   การร่วมมือร่วมใจเพื่องาน
                                    2.   ความจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์กร
                                    3.   เกื้อหนุนให้เกิดระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อผลในการกำกับควบคุมคนในองค์กร
                                    4.   การเกิดความสามัคคีในองค์กรหรือกลุ่ม
                                    5.   เข้าใจต่อนโยบายและวัตถุประสงค์ร่วมกันของบุคคลในองค์กร
                                    6.   สร้างความคิดใหม่เพื่อองค์กร
                                    7.   มีศรัทธาความเชื่อมั่นต่อตนเองและกลุ่ม
 ภาวะผู้นำ  มีผลต่อการมีส่วนร่วมขององค์กรหรือบุคคลในองค์กร ในทิศทางของ
กระบวนการตัดสินใจ เพราะการมีแรงจูงใจให้ปฏิบัติหรือการมีส่วนร่วมให้ปฏิบัติใด ๆ   หากกระบวนการตัดสินใจไม่เป็นผลแล้ว ยังส่งผลต่อการที่ไม่บรรลุความสำเร็จได้การตัดสินใจในระดับผู้นำขึ้นอยู่กับ
                                     1.  ความเชี่ยวชาญ คือการยอมรับและให้ความร่วมมือ
                                     2.  ความดึงดูดใจ  คือเหตุผลทางอารมณ์และอิทธิพลซึ่งเป็นพรสวรรค์เฉพาะตัว